ศูนย์สาธิตการทำเกษตรอินทรีย์วิทยาลัยชุมชพังงา

วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554

การเลี้ยงแพะในสวนยางพารา

          การเลี้ยงแพะในสวนไม้ยืนต้นเพื่อให้แพะใช้อาหารในบริเวณสวน เช่น สวนยางพารา สวนมะพร้าว สวนปาล์มน้ำมัน และสวนผลไม้ต่างๆ แพะอาจถูกเลี้ยงโดยการผูกล่าม หรือปล่อยให้หาอาหารกินเอง และควรดูแลอย่างใกล้ชิด ประโยชน์ที่ได้จากการเลี้ยงแพะในสวนคือมูลแพะซึ่งเป็นปุ๋ยอย่างดี สามารถช่วยเพิ่มผลผลิตของพืชได้ อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงแพะในสวนเกษตรกรต้องระวังการทำลาย หรือแทะเล็มพืชในกรณีที่พืชยังมีขนาดเล็ก หรือแทะเล็มเปลือกของลำต้น เช่น การเลี้ยงแพะในสวนยางพารา ซึ่งอาจปล่อยแพะเป็นฝูงให้หาอาหารธรรมชาติภายในบริเวณสวนยางพารา หรือล่ามแพะกับหลักที่ปักไว้ระหว่างแถวของต้นยางพารา เพื่อไม่ให้แพะแทะเล็มเปลือกต้นยางพาราโดยทั่วไปต้นยางจะใช้พื้นที่ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่สวนยางพาราทั้งหมด จึงเหลือพื้นที่อีกประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นพื้นที่ระหว่างแถวของต้นยางพารา ในขณะที่ต้นยางอายุน้อยอาจมีการปลูกพืชชนิดอื่นแซมเพื่อหารายได้ในขณะที่ยางยังไม่ได้เปิดกรีด ได้แก่ พืชคลุมดินตระกูลถั่วต่างๆ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง หรือข้าวโพด เป็นต้น นอกจากนี้ในสวนยางพาราอาจมีวัชพืชต่างๆ เมื่อต้นยางมีอายุมากขึ้น การปลูกพืชแซมด้วยพืชต่างๆ ก็จะน้อยลง เนื่องจากแสงแดดส่องไม่ถึง แต่ก็จะมีวัชพืชบางชนิดที่ไม่ต้องการแสงมากนักขึ้นอยู่ได้ โดยปกติการทำสวนยางอาจมีการใช้สารกำจัดวัชพืชหรือไถกลบวัชพืชดังกล่าว ทำให้เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ดังนั้น การเลี้ยงแพะจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถกำจัดวัชพืชในสวนยางพาราได้ โดยทั่วไปในสวนยางพาราประกอบด้วยวัชพืชขึ้นหลายชนิด เช่น หญ้ามาเลเซีย หญ้าเห็บ หญ้าละมาน และหญ้าคา นอกจากนี้ยังมีพืชตระกูลถั่วที่ใช้คลุมดิน และเฟิร์นชนิดต่างๆ พืชดังกล่าวในสวนยางพารามีผลผลิตแห้งประมาณ 160-320 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งผลผลิตจะลดลงเมื่อต้นยางพาราอายุเกิน 5 ปี ซึ่งเมื่อยางอายุ 5 ปี ผลผลิตของพืชเหล่านี้จะลดลงเหลือ 96 กิโลกรัมต่อไร่ เพราะมีร่มเงามากขึ้น พืชที่อยู่ใต้ร่มเงาจึงเจริญไม่ดี ซึ่งพืชเหล่านี้ประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ แพะสามารถใช้ประโยชน์ได้ แต่ก็มีบางชนิดที่แพะไม่ชอบกิน โดยเฉลี่ยสวนยางพื้นที่ประมาณ 7 ไร่ สามารถเลี้ยงแพะได้7-10 ตัว โดยไม่ต้องให้อาหารอื่นเสริมมากนัก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของพืชอาหารสัตว์ที่มีอยู่ในสวนยางพาราด้ว
 
ที่มา : http://halalgoat.patriyaschool.ac.th/index.php?option=com_kunena&Itemid=10&func=view&id=3&catid=7

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น