ศูนย์สาธิตการทำเกษตรอินทรีย์วิทยาลัยชุมชพังงา

วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การเลี้ยงไก่พื้นบ้าน

 

ปัจจุบันไก่พื้นบ้านได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นมาก เป็นเพราะไก่พื้นบ้านมี เนื้อ รสชาติอร่อยและเนื้อแน่น เป็นที่ถูกปากของผู้บริโภคทั่วไป จนมีแนวโน้มว่า จะสามารถส่งเนื้อไก่พื้นiบ้านออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ แต่ปัญหาคืะอปริมาณไก่ บ้านยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะเกษตรกริ.1่วนมากประมาณร้อยละ 70 80 เปอร์เซ็นต์ จะเลี้ยงไก่พื้นบ้านแบบหลังบ้านประมาณ 10 20 ตัวต่อครัว เรือน ซึ่งการเลี้ยงก็เป็นการเลี้ยงแบบปล่อยตามยถากรรม จึงเป็นเหตุให้เกิดความสูญเสย พอสมควร แต่ถ้าเกษตรกรสามารถปรับใช้เทคนิคการเลี้ยงแบบเรือนโรงมาผสม ผสานกับการเลี้ยงแบบพื้นบ้านและมีการปรับปรุงพันธุ์ลูกผสมระหว่างไก่บ้านกับไก่ พันธุ์แท้แล้วย่อมส่งผลทำให้จำนวนไก่บ้านที่จะออกสู่ตลาดมีปริมาณที่สูงขึ้นอย่าง แน่นอน


1. ข้อดีของไก่พื้นบ้าน


1.1 หาอาหารเก่ง สามารถเลี้ยงแบบปล่อยตามธรรมชาติได้ ทำให้ประหยัด ค่าอาหารได้มาก
1.2 ทนต่อสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศได้เป็นอย่างดี
1.3 ทนต่อโรคพยาธิได้ดีกว่าไก่พันธุ์อื่น ๆ
1.4 มีความสามารถในการเลี้ยงลูกได้เก่ง
1.5 เนื้อของไก่พื้นบ้านมีรสชาติถูกปากคนไทยมากกว่าเนื้อของไก่ที่ผลิต เป็นอาหารโดยเฉพาะ 2. ข้อเสียของไก่พื้นบ้าน
2.1 โตช้า ใช้เวลาเลี้ยงนานกว่าไก่ทางการค้ามาก
2.2 ให้ไข่น้อยปีหนึ่ง ๆ ให้ไข่เฉลี่ยประมาณ 40-50 ฟองต่อปี โดยจะให้ ไข่เป็น ชุด ๆ ละ 7 - 15 ฟอง
2 3 เมื่อไข่ครบชุดแล้วไก่พื้นบ้านมีนิสัยชอบฟักไข่ โดยจะฟักไข่ประมาณ 21 วัน ไข่จะออกเป็นลูกเจี๊ยบ และจะเลี้ยงลูกเจี๊ยบต่อไปอีกประมาณ 2 เดือน จึงจะเริ่มกลับมาให้ไข่ใหม่อีก



ลักษณะการฟักไข่ของแม่ไก่บ้าน ยังจัดได้ว่าเป็นลักษณะที่มีคุณประโยชน์ต่อเกษตรกรตามชนบทเป็นอย่างยิ่งในทางตรงข้าม การเลี้ยงไก่ในเรือนโรงที่เลี้ยงกันแบบอุตสาหกรรมนั้น ลักษระการฟักไข่ของแม่ไก่จะไม่เป็นที่พึงปรารถนา ดังนั้นไก่ที่เลี้ยงในเรือนโรงใหญ่ ๆ ทั้งไก่เนื้อหรือไก่ไข่ จะไม่พบว่ามีลักษณะการฟักหลงเหลืออยู่อันเนื่องมาก ลักษณะดังกล่าว ได้ถูกคัดทิ้งเพื่อเร่งให้แม่ไก่สามารถให้ไข่ได้มากขึ้น


การฟักไข่

การฟักไข่ของแม่ไก่ยังมีความจำเป็นต่อเกษตรกรเพราะ
1. เกษตรกรมีเวลาในการดูแลเอาใจใส่ต่อไก่พื้นบ้านของตนน้อยมาก ส่วนใหญ่มักเลี้ยงปล่อยไปตามยถากรรม
2. การขยายพันธุ์ของไก่พื้นบ้าน ยังต้องอาศัยวิธีตามธรรมชาติ คือแม่ไก่ฟักเอง ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ต้องลงทุนสูง
3. เกษตรกรยังไม่สามารถที่จะจัดซื้อตู้ฟักไข่มาใช้เองได้
4. ไม่มีการคัดทิ้งลักษณะการฟัก ในทางตรงข้ามกลับคัดแต่แม่ไก่ที่ฟักไข่ดีเก็บไว้ แล้วมักคัดทิ้งไก่ที่ให้ไข่ดก แต่ฟักไข่ไม่ค่อยดี
เมื่อไก่ที่เลี้ยงอายุได้ประมาณ 7 เดือน ก็จะเริ่มให้ไข่ ผู้เลี้ยงต้องเตรียมภาชนะสำหรับให้แม่ไก่วางไข่อาจจะป็นตะกร้าแบน ๆ รองด้วยฟางข้าวเอาไปวางไว้ตรงจุดใด จุดหนึ่งที่ค่อนข้างจะมืดในคอก หรือในเล้าที่ใช้เลี้ยงไก่ ถ้าหากไม่ได้เตรียมสิ่งดังกล่าวนี้ไว้แม่ไก่จะไปไข่ตามบริเวณในซอกกองไม้ หรือบนยุ้งฉาง ซึ่งอาจทำให้หาไม่พบ และจะทำให้ไข่เน่าเสียไปได้
1. อุปกรณ์และวิธีปฏิบัติสำหรับการฟักไข่ ควรเตรียมอุปกรณ์บางชนิดที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการฟักไข่ของแม่ไก่ เพื่อช่วยให้อัตราการฟักออกดีขึ้นดังนี้
1.1 เตรียมตะกร้า หรือกล่องกระดาษที่ไม่ลึกเกินไป และปูรองพื้นด้วยฟางข้าวที่สะอาดแล้วนำไปวางในมุมมืดที่อากาศสามารถ่ายเทได้สะดวก
1.2 ในระยะแรก ๆ ของการให้ไข่ ควรเก็บไข่ในตะกร้าหรือกล่องทุกวัน ในฤดูร้อนไข่ที่เก็บในฟองแรก ๆ มักฟักไม่ออกเป็นตัว ควรนำไปปรุงเป็นอาหารรับประทานดีกว่าที่จะปล่อยให้ไข่เน่าเสียโดยเปล่าประโยชน์
1.3 หลัจากเก็บไข่จากตะกร้าหรือรังไข่แล้ว ควรปิดรังไข่ในเวลากลางคืน เพื่อป้องกันไม่ให้ไก่ถ่ายมูลลงในรังซึ่งมีผลทำให้ไข่ฟักสกปรกและอาจเน่าเสียในระหว่างการฟักได้ง่า
1.4 ถ้ามีตู้เย็น ควรเก็บไข่ฟักไว้ในตู้เย็น โดยหันเอาด้านป้านของไข่คว่ำลงและภาย ในตู้เย็นควรวางขันใส่น้ำไว้เพื่อเพิ่มความชื้นสัมพัทธ์ภายในตู้ ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้น้ำระเหยจากไข่ในปริมาณมากเกินไป
1.5 ในกรณีที่ไม่มีตู้เย็น ควรนำไข่มาวางในบริเวณร่มเย็นที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก แดดส่องไม่ถึง และเป็นบริเวณที่สะอาด โดยวางไข่เอาด้านป้านคว่ำลงไม่ควรล้างไข่ด้วยน้ำ แต่ถ้าไข่สกปรก ให้ใช้ผ้าสะอาด เช็ดบริเวณรอยเปื้อนนั้น ถ้าไข่สกปรกมาก ไม่ควรนำไปฟัก
1.6 เมื่อพบว่า แม่ไก่ให้ไข่มากพอควร และเริ่มสังเกตเห็นแม่ไก่หมอบอยู่ในรังไข่เป็นเวลานาน ๆ แล้ว ให้นำไข่ที่เก็บไว้นั้นไปให้แม่ไก่ฟัก (ถ้าเก็บในตู้เย็นควรนำไข่มาวางไว้ข้างนอกเป็นระยะเวลาหนึ่งก่อนเพื่อปรับอุณหภูมิในไข่ให้เท่ากับอุณหภูมิภายนอก)
1.7 ในระหว่างที่แม่ไก่ฟักไข่อยู่นั้น ควรจัดเตรียมอาหารและน้ำไว้ในบริเวณใกล้ ๆ ที่แม่ไก่ฟัก เพื่อป้องกันไม่ให้แม่ไก่ทิ้งรังไข่ไปหาอาหารเป็นระยะเวลานาน ๆ
1.8 เมื่อแม่ไก่ฟักไข่ได้ประมาณ 7 วัน ควรนำไข่ฟักมาส่องดูเพื่อแยกไข่ไม่มีเชื้อหรือไข่เชื้อตาย หรือไข่เน่าออกจากรังไข่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น