ศูนย์สาธิตการทำเกษตรอินทรีย์วิทยาลัยชุมชพังงา

วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การปลูกผักสวนครัวในวิทยาลัยชุมชน

           สวัสดีครับทุกท่านที่ติดตามข่าวคราวของวิทยาลัยชุมชนพังงา หน่วยจัดการศึกษาคุระบุรี ในสัปดาห์นี้ผมขอพูดคุยเรื่องการปลูกผักสวนครัวของหน่วยจัดการศึกษาคุระบุรี สำหรับหน่วยจัดของเรามีสภาพพื้นที่เป็นป่าประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ สภาพของดินเป็นร่วนสามารถที่จะปลูกต้นไม้ พืชผักต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ผมจึงให้นักศึกษาสาขาการปกครองท้องถิ่นที่เรียนรายวิชาเกษตรกรรมท้องถิ่นไทย ภาคเรียนที่ 1/2553  ได้ลงมือปฏิบัติการปลูกผักสวนครัวกัน โดยนักศึกษาได้นำพันธุ์ผักต่าง ๆ มาปลูกกันเอง เช่น ตะไคร้ ขิง ข่า กระเพาะ โหรพา ชะอม มะเขือ ถั่วฝักยาว ผักหวานบ้าน กระเจี๊ยบ เป็นต้น มาปลูกในด้านหลังของห้องเรียน ในการปลูกผมจะไม่ให้นักศึกษาใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ให้กับพืชผัก เพราะอนาคตของหน้าอาจจะส่งผลกระทบกับดินได้ ซึ่งขณะนี้เวลาได้ผ่านมา 1 ภาคเรียนแล้ว ผลผลิตจากการปลูกของเราก็เริ่มเกิบกินได้แล้ว นักศึกษาของเราตอนเที่ยงจะนำข้าวห่อมากินกันที่หน่วยจัด แล้วก็ไปเก็บผักที่ตนเองปลูกมาจิ้มกินกับนำพริกที่ได้เตรียมกันมา บรรยาเป็นไปอย่างสนุกสนาน อีกส่วนหนึ่งเรานำไปทำเป็นน้ำสมุนไพร เช่น ตะไคร้ กระเจี๊ยบ ดอกอัญชัญ หน่วยจัดของเราก็ได้ทำน้ำสมุนไพรไปแจกประชาชนในงานแตงโมและของดีอำเภอคุระบุรี ในระหว่างวันที่ 12 -21 มกราคม 2554
           นอกจากเราได้ปลูกพืชผักสวนครัวไว้กินกันเองแล้ว ก็ยังได้ให้นักศึกษาปลูกกล้วยชนิดต่าง ๆ ไว้เพื่อรับประทานอีก ซึ่งขณะนี้ต้นกล้วยที่ปลูกไว้ก็กำลังโตเต็มที่แล้ว อีกประมาณ 1 ปี ก็คิดว่าคงจะได้เก็บเกี่ยวผลผลิตที่เราได้ปลูกไว้ได้แล้ว




ผู้เขียน : อ.สายันต์ ปานบุตร (หัวหน้าหน่วยจัดการศึกษาคุระบุรี)

วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

แพะสัตว์เศรษฐกิจแห่งอนาคต อีกหนึ่งทางเลือกของเกษตรกร

             ปัจจุบันเกษตรกรจำนวนไม่น้อยกำลังตื่นตัวและสนใจหันมาเลี้ยงแพะกันมากขึ้น หลังจากกรมปศุสัตว์ประกาศชัดเจนว่า กำลังเดินหน้าสนับสนุนให้เกษตรกรเลี้ยงแพะเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ผลักดันให้พื้นที่จังหวัดภาคใต้ตอนล่างเป็นศูนย์กลางการผลิตและส่งออกอาหารฮาลาล โดยใช้แพะเป็นวัตถุดิบ ดังนั้น ณ วินาทีนี้ แพะจึงถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ที่น่าจับตามอง เพราะตลาดกำลังต้องการสูงมาก ทั้งที่เป็นผลิตภัณฑ์นมและเนื้อแพะ
เน้นเลี้ยงระบบเครือข่าย
        น.สพ.ศักดิ์ชัย ศรีบุญซื่อ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวระหว่างการเดินทางไปเป็นประธานเปิดงาน "วันแพะแห่งชาติ" ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 25-28 เมษายน ที่ผ่านมา ณ ค่ายวิภาวดีรังสิต อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี ว่า ในปี 2547 กรมปศุสัตว์ใช้งบประมาณ 6 ล้านบาท พัฒนาพันธุ์แพะแจกให้เกษตรกร เพราะเห็นว่าแพะเป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ การที่กรมปศุสัตว์สนับสนุนพร้อมเน้นให้เกษตรกรเลี้ยงในลักษณะที่สร้างฟาร์มเครือข่ายผู้เลี้ยงแพะทั่วประเทศ ทั้งแพะเนื้อ แพะนม เพื่อเพิ่มปริมาณให้เพียงพอกับความต้องการของตลาด ขณะนี้มีเกษตรกรเข้าร่วมฟาร์มเครือข่ายแล้วกว่า 50 ฟาร์ม ส่วนใหญ่อยู่ใน จ.สงขลา ยะลา สุราษฎร์ธานี และปัตตานี

ตั้งเป้าปี 49 เพิ่มแม่พันธุ์ 2 หมื่นตัว
         นายสหัส นิลพันธุ์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์อีกคนหนึ่ง บอกว่า แพะเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากโดยเฉพาะในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ แต่ปัจจุบันผลผลิตแพะยังไม่เพียงพอกับความต้องการ โดยกรมปศุสัตว์มีเป้าหมายเพิ่มปริมาณการเลี้ยงแพะภายในปี 2549 ให้ได้ 1-2 หมื่นตัว จากที่ปัจจุบันมีการเลี้ยงอยู่ทั้งสิ้น 338,355 ตัว เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเลี้ยงแพะให้เกษตรกรได้เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางมากขึ้น ที่ผ่านมากรมปศุสัตว์ได้จัดงาน "วันแพะแห่งชาติ" มาแล้ว 3 ครั้ง
สตูลรวมตัวเลี้ยงแพะส่งออก
       สำหรับการเคลื่อนไหวของเกษตร บางพื้นที่มีการสร้างฟาร์มเลี้ยงเอง บางพื้นที่เลี้ยงในรูปแบบของบริษัทคือเลี้ยงครบวงจร แต่ที่ จ.สตูล มีการตั้งกลุ่มเพื่อเลี้ยงแพะเชิงธุรกิจแบบครบวงจรขึ้น ตามแผนระยะยาวจะมีการแปรรูปแพะกระป๋อง เนื้อแพะสวรรค์ เน้นการส่งออกต่างประเทศ   
       นายสาคร ยากาจิ ประธานเกษตรกรกลุ่มผู้เลี้ยงแพะ จ.สตูล กล่าวว่า ปัจจุบันกลุ่มมีสมาชิกเข้าร่วมโครงการเลี้ยงแพะทั้งหมด 60 กลุ่ม มีแพะที่เลี้ยงราว 1,000 ตัว แต่ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดในตอนนี้ เพราะภาคใต้ตอนล่างส่วนใหญ่จะเป็นไทยมุสลิมนิยมการบริโภคเนื้อแพะอยู่แล้ว ทำให้แพะมีราคาสูง อย่างขายทั้งตัวกิโลกรัมละ 120 บาท ส่วนเนื้อแพะชำแหละราคากิโลกรัมละ 230 บาท ปัจจุบันยังจำหน่ายในพื้นที่เป็นหลัก แต่ในอนาคตจะขยายตลาดและจะเน้นที่ประเทศเพื่อนบ้าน อย่างเช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย รวมถึงตลาดประเทศตะวันออกกลาง ซึ่งตอนนี้กำลังพัฒนาด้านการแปรรูปเป็นแพะกระป๋อง เนื้อแพะสวรรค์ ตั้งเป้าอีก 4 ปี จะขยายกลุ่มเกษตรกรให้ได้ 1,000 ครอบครัว

เมืองคอนใช้กว่า 2 ล้าน ปรับปรุงพันธุ์
          ส่วนที่ จ.นครศรีธรรมราช นายวิชม ทองสงค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ใช้งบผู้ว่าฯ ซีอีโอ กว่า 2 ล้าน ทำโครงการปรับปรุงพันธุ์แพะเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดบรรจุเป็นแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดระหว่างปี 2548-2550 โดยปีแรกตามโครงการนี้จะมีแพะพ่อพันธุ์ดี 320 ตัว สนับสนุนให้กลุ่มเกษตรกร 58 กลุ่ม ใน 16 อำเภอ ซึ่งเมื่อครบ 1 ปีแล้ว จะได้ลูกแพะพันธุ์ผสมที่เกิดจากพ่อพันธุ์เหล่านี้ จำนวน 4,800 ตัว

ใช้สวนปาล์มกำไรสองต่อ
          ที่ จ.สุราษฎร์ธานี เกษตรกรใช้สวนปาล์มมาเลี้ยงแพะ อย่าง "ฟาร์มแพะนาสาร" ที่บ้านาสาร ต.นาสาร อ.นาสาร ใช้สวนปาล์มกว่า 70 ไร่ ทำเป็นฟาร์มแพะครบวงจร ทำให้เกษตรกรมีรายได้ทั้งสองทาง คือ ผลผลิตปาล์มน้ำมันและมีรายได้จากการเลี้ยงแพะนายภานุ วัฒนโยธิน ผู้จัดการฟาร์มแพะนาสาร บอกว่า ยุคนี้แพะเป็นสัตว์ที่น่าสนใจและน่าลงทุนเลี้ยงมาก เนื่องจากมีตลาดที่กว้าง แต่เกษตรกรภายในประเทศเลี้ยงน้อยมาก แม้กระทั่งในพื้นที่ภาคใต้ซึ่งชาวไทยมุสลิมที่นิยมบริโภคเนื้อแพะ แต่มีการเลี้ยงเพียงไม่กี่ฟาร์ม ทางฟาร์มจึงตัดสินใจลงทุนทำโรงเรือนในสวนปาล์ม สำหรับให้แพะนอนและให้แพะหลบฝนเนื่องจากแพะเป็นสัตว์ที่ถูกน้ำฝนไม่ได้เพราะจะเกิดโรคทางเดินอาหารและลำไส้อืดสำหรับแพะที่เลี้ยงเป็นแพะนมเป็นลูกผสมระหว่างพันธุ์ซาแนนกับพันธุ์แองโกนูเบียน มีรูปร่างใหญ่และให้น้ำนมดี ส่วนแพะเนื้อพันธุ์บอร์เป็นแพะจากประเทศแอฟริกาใต้ มีรูปร่างค่อนใหญ่ ตัวผู้จะมีน้ำตัวถึง 90 กก. และตัวเมีย 65 กก. ซึ่งปัจจุบันมีแพะทั้งหมดกว่า 400 ตัว เป็นแพะพันธุ์นม 300 ตัว รีดได้ราว 50-60 ตัว ได้น้ำนมตกวันละ 60-80 กก.

พ่อ-แม่พันธ์ 3 เดือน ราคาเป็นหมื่น
          ส่วนหนึ่งของน้ำนมแพะจะนำไปแปรรูปเป็นนมพาสเจอไรซ์บรรจุขวดมี 2 ขนาด คือ ขนาดเล็กที่สุด 150 ซีซี ขายราคาส่งขวดละ 12 บาท พ่อค้านำไปขายปลีกขวดละ 18 บาท, ขวดขนาด 800 ซีซี ขายส่งขวดละ 70 บาท พ่อค้านำไปขายปลีกขวดละ 80 บาท ส่วนตลาดหลักส่งไปขายที่ จ.กระบี่ ซึ่งมีเท่าไรก็ขายได้หมด ขณะที่แพะเนื้อขายเป็นตัวในราคากิโลกรัมละ 80 บาท หากเป็นพ่อพันธุ์หรือแม่พันธุ์อายุ 3 เดือน ตัวละ 1-1.6 หมื่นบาท แต่ถ้าเป็นลูกแพะตัวผู้ทั่วไป พออายุ 3 เดือน ขายชั่งกิโลทั้งตัวในราคากิโลกรัมละ 80 บาท จะได้เงินราวตัวละ 800 บาท ส่วนแพะเนื้อพันธุ์บอร์ เลี้ยงเพื่อขายให้กับโรงชำแหละในราคาเดียวกันคือกิโลกรัมละ 80 บาท
          หากประเมินจากหลายฝ่าย การเลี้ยงแพะถือเป็นอาชีพที่น่าสนใจ และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเกษตรกร แต่กระนั้นก่อนที่จะตัดสินใจเลี้ยง ต้องศึกษาให้ละเอียดในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านการตลาดหากเลี้ยงมากไปจะเกิดภาวะล้นตลาดได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าหลายโครงการในอดีตที่ภาครัฐให้การสนับ แต่ก็ยังเกิดปัญหาด้านการตลาดในภายหลัง


ที่มา หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก (ฉบับวันที่ 22 พฤษภาคม 2549)
http://www.komchadluek.net/news/2006/05-21/farm1-20672726.html

เกษตรอินทรีย์

 
 

เกษตรอินทรีย์ คืออะไร

เกษตรอินทรีย์คืออะไรเป็นคำสั่งที่ไม่แน่ใจว่าผู้คนจะลึกซึ้งมากน้อยเพียงใด ดังที่กล่าวมาแล้วว่าเกษตรอินทรีย์เกิดขึ้นในยุโรปดังนั้น นิยามของเกษตรอินทรีย์จะแตกต่างกันไปตามข้อกำหนดของหน่วยงานรับร องมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของแต่ละประเทศ ซึ่งมีความหมายที่แตกต่างจากผักไร้สารพิษ
ผักปลอดภัยจากสารพิษ และผักอนามัยดังนี้
เกษตรอินทรีย์คือ
ระบบการผลิตที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อมรักษาสมดุลของธรรมชาติและความหลากหลายของทางชีวภาพโดยมีระบบการจัดการนิเวศวิทยา
ที่คล้ายคลึงกับธรรมชาติ
และหลีกเลี่ยงการใช้สารสังเคราะห์ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและฮอร์โมนต่าง ๆ ตลอดจนไม่ใช้พืชหรือสัตว์ที่เกิดจากการตัดต่อทางพันธุกรรมที่อาจเกิดมลพิษใน สภาพแวดล้อม
เน้นการใช้อินทรีย์วัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และ ปุ๋ยชีวภาพในการปรับปรุงบำรุงให้มีความอุดมสมบูรณ์ เพื่อให้ต้นพืชมีความแข็งแรงสามารถ
ต้านทานโรคและแมลงด้วยตนเอง รวมถึงการนำเอาภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ประโยชน์ด้วย ผลผลิตที่ได้จะปลอดภัยจากสารพิษตกค้างทำให้ปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค และไม่ทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมอีกด้วย (กรมวิชาการเกษตร)

ผักไร้สารจากสารพิษ คือ ผักที่มีระบบการผลิตที่ไม่ใช้สารเคมีใด ๆ ทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นสารเคมีเพื่อป้องกันเพื่อปราบศัตรูพืชหรือปุ๋ยเคมีทุก ชนิด แต่จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทั้งหมด และผลผลิตที่เก็บเกี่ยวแล้วต้องไม่มีสารพิษใดๆทั้งสิ้น
ผักปลอดภัยจากสารพิษ คือผักที่มีระบบการผลิตที่มีการใช้สารเคมีในการป้องกันและปราบศัตรูพืช รวมทั้งปุ๋ยเคมีเพื่อการเจริญเติบโตผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ยังมีสารพิษตก ค้างไม่เกินปริมาณที่กำหนดไว้ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ตามประกาศกระทรวงสาธารณะสุข ฉบับที่163 พ.ศ. 2538
ผักอนามัย คือผักที่มีระบบการผลิตที่มีการใช้สารเคมีในการป้องกันและปราบศัตรูพืช รวมทั้งปุ๋ยเคมีเพื่อการเจริญเติบโตผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ยังมีสารตกค้าง ไม่เกินปริมาณที่กำหนดไว้เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค และมีความสะอาดผ่านกรรมวิธีการปฏิบัติก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว ตลอดจนการขนส่ง และการบรรจุหีบห่อ ได้คุณสมบัติมาตรฐาน


เรียบเรียงโดย สุพจน์ ชัยวิมล ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาเกษตรอินทรีย์ สำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร

การเลี้ยงไก่พื้นบ้าน

 

ปัจจุบันไก่พื้นบ้านได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นมาก เป็นเพราะไก่พื้นบ้านมี เนื้อ รสชาติอร่อยและเนื้อแน่น เป็นที่ถูกปากของผู้บริโภคทั่วไป จนมีแนวโน้มว่า จะสามารถส่งเนื้อไก่พื้นiบ้านออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ แต่ปัญหาคืะอปริมาณไก่ บ้านยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะเกษตรกริ.1่วนมากประมาณร้อยละ 70 80 เปอร์เซ็นต์ จะเลี้ยงไก่พื้นบ้านแบบหลังบ้านประมาณ 10 20 ตัวต่อครัว เรือน ซึ่งการเลี้ยงก็เป็นการเลี้ยงแบบปล่อยตามยถากรรม จึงเป็นเหตุให้เกิดความสูญเสย พอสมควร แต่ถ้าเกษตรกรสามารถปรับใช้เทคนิคการเลี้ยงแบบเรือนโรงมาผสม ผสานกับการเลี้ยงแบบพื้นบ้านและมีการปรับปรุงพันธุ์ลูกผสมระหว่างไก่บ้านกับไก่ พันธุ์แท้แล้วย่อมส่งผลทำให้จำนวนไก่บ้านที่จะออกสู่ตลาดมีปริมาณที่สูงขึ้นอย่าง แน่นอน


1. ข้อดีของไก่พื้นบ้าน


1.1 หาอาหารเก่ง สามารถเลี้ยงแบบปล่อยตามธรรมชาติได้ ทำให้ประหยัด ค่าอาหารได้มาก
1.2 ทนต่อสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศได้เป็นอย่างดี
1.3 ทนต่อโรคพยาธิได้ดีกว่าไก่พันธุ์อื่น ๆ
1.4 มีความสามารถในการเลี้ยงลูกได้เก่ง
1.5 เนื้อของไก่พื้นบ้านมีรสชาติถูกปากคนไทยมากกว่าเนื้อของไก่ที่ผลิต เป็นอาหารโดยเฉพาะ 2. ข้อเสียของไก่พื้นบ้าน
2.1 โตช้า ใช้เวลาเลี้ยงนานกว่าไก่ทางการค้ามาก
2.2 ให้ไข่น้อยปีหนึ่ง ๆ ให้ไข่เฉลี่ยประมาณ 40-50 ฟองต่อปี โดยจะให้ ไข่เป็น ชุด ๆ ละ 7 - 15 ฟอง
2 3 เมื่อไข่ครบชุดแล้วไก่พื้นบ้านมีนิสัยชอบฟักไข่ โดยจะฟักไข่ประมาณ 21 วัน ไข่จะออกเป็นลูกเจี๊ยบ และจะเลี้ยงลูกเจี๊ยบต่อไปอีกประมาณ 2 เดือน จึงจะเริ่มกลับมาให้ไข่ใหม่อีก



ลักษณะการฟักไข่ของแม่ไก่บ้าน ยังจัดได้ว่าเป็นลักษณะที่มีคุณประโยชน์ต่อเกษตรกรตามชนบทเป็นอย่างยิ่งในทางตรงข้าม การเลี้ยงไก่ในเรือนโรงที่เลี้ยงกันแบบอุตสาหกรรมนั้น ลักษระการฟักไข่ของแม่ไก่จะไม่เป็นที่พึงปรารถนา ดังนั้นไก่ที่เลี้ยงในเรือนโรงใหญ่ ๆ ทั้งไก่เนื้อหรือไก่ไข่ จะไม่พบว่ามีลักษณะการฟักหลงเหลืออยู่อันเนื่องมาก ลักษณะดังกล่าว ได้ถูกคัดทิ้งเพื่อเร่งให้แม่ไก่สามารถให้ไข่ได้มากขึ้น


การฟักไข่

การฟักไข่ของแม่ไก่ยังมีความจำเป็นต่อเกษตรกรเพราะ
1. เกษตรกรมีเวลาในการดูแลเอาใจใส่ต่อไก่พื้นบ้านของตนน้อยมาก ส่วนใหญ่มักเลี้ยงปล่อยไปตามยถากรรม
2. การขยายพันธุ์ของไก่พื้นบ้าน ยังต้องอาศัยวิธีตามธรรมชาติ คือแม่ไก่ฟักเอง ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ต้องลงทุนสูง
3. เกษตรกรยังไม่สามารถที่จะจัดซื้อตู้ฟักไข่มาใช้เองได้
4. ไม่มีการคัดทิ้งลักษณะการฟัก ในทางตรงข้ามกลับคัดแต่แม่ไก่ที่ฟักไข่ดีเก็บไว้ แล้วมักคัดทิ้งไก่ที่ให้ไข่ดก แต่ฟักไข่ไม่ค่อยดี
เมื่อไก่ที่เลี้ยงอายุได้ประมาณ 7 เดือน ก็จะเริ่มให้ไข่ ผู้เลี้ยงต้องเตรียมภาชนะสำหรับให้แม่ไก่วางไข่อาจจะป็นตะกร้าแบน ๆ รองด้วยฟางข้าวเอาไปวางไว้ตรงจุดใด จุดหนึ่งที่ค่อนข้างจะมืดในคอก หรือในเล้าที่ใช้เลี้ยงไก่ ถ้าหากไม่ได้เตรียมสิ่งดังกล่าวนี้ไว้แม่ไก่จะไปไข่ตามบริเวณในซอกกองไม้ หรือบนยุ้งฉาง ซึ่งอาจทำให้หาไม่พบ และจะทำให้ไข่เน่าเสียไปได้
1. อุปกรณ์และวิธีปฏิบัติสำหรับการฟักไข่ ควรเตรียมอุปกรณ์บางชนิดที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการฟักไข่ของแม่ไก่ เพื่อช่วยให้อัตราการฟักออกดีขึ้นดังนี้
1.1 เตรียมตะกร้า หรือกล่องกระดาษที่ไม่ลึกเกินไป และปูรองพื้นด้วยฟางข้าวที่สะอาดแล้วนำไปวางในมุมมืดที่อากาศสามารถ่ายเทได้สะดวก
1.2 ในระยะแรก ๆ ของการให้ไข่ ควรเก็บไข่ในตะกร้าหรือกล่องทุกวัน ในฤดูร้อนไข่ที่เก็บในฟองแรก ๆ มักฟักไม่ออกเป็นตัว ควรนำไปปรุงเป็นอาหารรับประทานดีกว่าที่จะปล่อยให้ไข่เน่าเสียโดยเปล่าประโยชน์
1.3 หลัจากเก็บไข่จากตะกร้าหรือรังไข่แล้ว ควรปิดรังไข่ในเวลากลางคืน เพื่อป้องกันไม่ให้ไก่ถ่ายมูลลงในรังซึ่งมีผลทำให้ไข่ฟักสกปรกและอาจเน่าเสียในระหว่างการฟักได้ง่า
1.4 ถ้ามีตู้เย็น ควรเก็บไข่ฟักไว้ในตู้เย็น โดยหันเอาด้านป้านของไข่คว่ำลงและภาย ในตู้เย็นควรวางขันใส่น้ำไว้เพื่อเพิ่มความชื้นสัมพัทธ์ภายในตู้ ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้น้ำระเหยจากไข่ในปริมาณมากเกินไป
1.5 ในกรณีที่ไม่มีตู้เย็น ควรนำไข่มาวางในบริเวณร่มเย็นที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก แดดส่องไม่ถึง และเป็นบริเวณที่สะอาด โดยวางไข่เอาด้านป้านคว่ำลงไม่ควรล้างไข่ด้วยน้ำ แต่ถ้าไข่สกปรก ให้ใช้ผ้าสะอาด เช็ดบริเวณรอยเปื้อนนั้น ถ้าไข่สกปรกมาก ไม่ควรนำไปฟัก
1.6 เมื่อพบว่า แม่ไก่ให้ไข่มากพอควร และเริ่มสังเกตเห็นแม่ไก่หมอบอยู่ในรังไข่เป็นเวลานาน ๆ แล้ว ให้นำไข่ที่เก็บไว้นั้นไปให้แม่ไก่ฟัก (ถ้าเก็บในตู้เย็นควรนำไข่มาวางไว้ข้างนอกเป็นระยะเวลาหนึ่งก่อนเพื่อปรับอุณหภูมิในไข่ให้เท่ากับอุณหภูมิภายนอก)
1.7 ในระหว่างที่แม่ไก่ฟักไข่อยู่นั้น ควรจัดเตรียมอาหารและน้ำไว้ในบริเวณใกล้ ๆ ที่แม่ไก่ฟัก เพื่อป้องกันไม่ให้แม่ไก่ทิ้งรังไข่ไปหาอาหารเป็นระยะเวลานาน ๆ
1.8 เมื่อแม่ไก่ฟักไข่ได้ประมาณ 7 วัน ควรนำไข่ฟักมาส่องดูเพื่อแยกไข่ไม่มีเชื้อหรือไข่เชื้อตาย หรือไข่เน่าออกจากรังไข่

การเลี้ยงไก่เบตง

[images.jpg]  [images+2.jpg] [images+ๅ.jpg]



ไก่เบตง (Betta splendens Regan)
               ประวัติความเป็นมาของไก่พันธุ์เบตง คำว่า “เบตง” เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดยะลา ซึ่งมีพื้นที่อยู่ใต้สุดของจังหวัดยะลา และประเทศไทยมีอาณาเขตพื้นที่ติดต่อกับรัฐเคดา ประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย ลักษณะพื้นที่เป็นที่สูง ราษฏรส่วนใหญ่เป็นคนไทยมีเชื้อสายจีน มีอาชีพในการทำสวนยางพาราและค้าขาย และเป็นแหล่งกำเนิดไก่ที่มีชื่อเสียงมาก เนื้อมีรสชาดอร่อยและตัวใหญ่ ตามประวัติความเป็นมาของไก่พันธุ์เบตงนี้ เป็นไก่ซึ่งมีเชื้อสายมาจากไก่พันธุ์เลียงชาน มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน เมื่อชาวจีนอพยพมาจากประเทศจีนและมาตั้งถิ่นฐานทำมาหากิน ตั้งหลักแหล่งในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา จึงได้นำไก่พันธุ์นี้มีมาแพร่หลายในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา จนถึงทุกวันนี้ แต่ในปัจจุบันไก่พันธุ์นี้มีปริมาณลดน้อยลง เนื่องจากมีการอพยพบ้านเรือนบ่อย ๆ และราษฏรบางท้องที่ไม่ได้มีการทำวัคซีนป้องกันโรค บางครั้งทำให้เกิดโรคระบาดขึ้นไก่ล้มตายเป็นจำนวนมาก และอีกประการหนึ่ง คือ ราคาที่จำหน่ายในท้องที่หรือตลาดมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ ประมาณ 70 – 80 บาท เนื่องจากหาซื้อยากขึ้นเพราะมีราษฏรเลี้ยงลดน้อยลง ตลาดผู้บริโภคไม่แน่นอน

ลักษณะของไก่พันธุ์เบตง

             ตัวผู้ ปาก สี สีเหลืองอ่อน มีลักษณะ จงอยปากงองุ้มแข็งแรง อาจเป็นเพราะต้องหาอาหารกินเอง ตามธรรมชาติ จึงทำให้ปากมีความแข็งแรงเป็นพิเศษ ตา ตานูนแจ่มใส หงอน มีหนึ่งแบบ คือ แบบหงอนจักร์ หัว ลักษณะกว้างไม่แคบ ตุ้มหู ไม่มี คอ คอตั้ง , แข็งแรง ขนคอมีสีเหลืองทองที่หัวแล้วค่อย ๆ จางลง มาถึงลำตัวลักษณะคล้ายสร้อยคอ ปีก สั้น , แข็งแรงพอเหมาะกับลำตัว ขนสีเหลือง อาจมีเส้นสีดำ 1 หรือ 2 เส้น ที่ปลายแถบของขน อก กล้ามเนื้อกว้าง ตามลักษณะไก่พันธุ์เนื้อทั่ว ๆ ไป ขนที่อกและใต้ปีกสีเหลืองบาง หลัง มีระดับขนานกับพื้นดิน (กว้าง , เป็นแผ่น ๆ) หาง มีขนหางไม่ดกมากนัก มีขนสีน้ำตาลปน หางขนมีน้อยและไม่ยาวมาก ปั้นท้าย (ก้นไก่) เป็นรูปตัดเห็นได้ชัด ขาไก่ มีขนาดใหญ่พอเหมาะกับลำตัวเช่นเดียวกับไก่พันธุ์เนื้อทั่ว ๆ ไป ขนสีเหลือง ผิวหนังมีสีแดงเรื่อ ๆ เพราะขนน้อย แต่ถ้าเป็นไก่ตอนจะมีขนดก หน้าแข้งไก่ กลม , ล่ำสัน , เกล็ดวาวแถวแนวเป็นระเบียบสีเหลือง นิ้วไก่ เหยียดตรงและแข็งแรง เล็บเท้า สีขาวอมเหลือง

           ตัวเมีย หัว ลักษณะกว้าง ตา แจ่มใส หงอน รูปถั่วสั้น หรือ จักรติดหนังสือ ปาก โคนปากมีสีน้ำตาลเข้มค่อย ๆ จางมาเป็นสีเหลืองที่ปลายปาก จงอยปากงุ้ม แข็งแรง คอ คอตั้งแข็งแรง สีเหลืองอ่อน อก กว้างหนาตามลักษณะไก่พันธุ์เนื้อทั่ว ๆ ไปขนสีเหลืองดกมีขนคลุมทั่วตัว หลัง ขนสีเหลืองดก วางแนวขนานกับพื้น ปีก พอเหมาะกับลำตัว แข็งแรง ขนปีกเต็ม เป็นแบบมีสีดำประปราย หาง หางดก , สีเหลือง ขาไก่ แข็งแรง ขนาดพอเหมาะกับลำตัว ขนสีเหลืองดก หน้าแข้งไก่ กลมสีเหลือง เกล็ดวางแถวแนวเป็นระเบียบ นิ้วไก่ เหยียดตรงและแข็งแรง เล็บไก่ สีขาวอมเหลือง ความต้านทานโรค มีความต้านทานโรคสูงพอสมควร

                  การเลี้ยงไก่เบตง ไก่พันธุ์เบตง เป็นไก่ที่ชอบหากินอิสระในสนามหญ้าบริเวณบ้านตามป่าโปร่ง ๆ คงเป็นเพราะ ไก่พันธุ์นี้มีลักษณะไก่ป่าอยู่มาก ราษฏรในอำเภอเบตงเลี้ยงไก่พันธุ์นี้ตามบริเวณลานบ้านในสวนยางพารา ไก่พันธุ์นี้เลี้ยงเชื่องมากชอบหากินเป็นฝูง ตัวผู้รักลูกมาก บางครั้งจะพบว่าตัวผู้จะฟักลูกแทนตัวเมีย

 ที่มา : กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดยะลา